ร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด ช่วงนี้อากาศนั้น ร้อนแสนร้อน ชนิดที่ว่าเมืองไทยแทบจะเดือดกันเลยทีเดียว อยากจะจับประเทศไปแช่ช่องฟรีชกันให้รู้แล้วรู้รอด แล้วอากาศร้อนแบบนี้ ใครว่าจะไม่มีพิษมีภัย นอกจากจะอันตรายต่อผิวที่โดนแผดเผาแล้ว เผลอ ๆ อาจจะพาเราใกล้ชิดกับโรคหวัดแดดเสียด้วย เพราะอุณหภูมิ และแสงแดดที่ร้อนแรงมาก อาจทำให้ร่างกายมีอาการเพลียแดดไปตาม ๆ กัน แม้จะพยายามดื่มน้ำหรือเป่าลมกันแล้ว ดู เหมือนเจ้าความร้อนในร่างกายเราดูไม่ยอมลดลงไปด้วย แต่ดูท่าจะสะสมในร่างกายเหมือนคนจะเป็นไข้ ยิ่งคนที่ทำงานท่ามกลางแดดร้อนต้องระวัง ไม่ควรดื่มน้ำเย็นทันทีเพื่อดับร้อน ควรใช้เป็นน้ำขวดที่ไม่แช่เย็นจะดีกว่า และพยายามใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าตาก็จะช่วยบรรเทาได้ค่ะ สำหรับคนทำงานในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศเย็นสบาย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจนัก เพราะเมื่อออกนอกอาคารก็จะปะทะกับอากาศและลมร้อน จะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เป็นเหตุให้มีอาการเหมือนจะเป็นไข้ได้เช่นกัน ที่แม้ดูแล้วไม่น่าหนักหนาอะไรแต่ก็ไม่ยอมหายซักที ทำให้บั่นทอนประสิทธิภาพของร่างกายเรา ยิ่งร่างกายอ่อนแอลงภูมิต้านทานต่าง ๆ จะลดลง โอกาสติดโรคหรือติดเชื้อต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้น กินยาลดไข้แล้วไม่หายซักที อาการของโรคหวัดแดด ลองสังเกตดูนะคะ สำหรับใครที่ไปตากแดดตากลมร้อนมา แล้วมีอาการเหล่านี้หรือไม่ 1. มีอาการไข้รุม ๆ ริมฝีปากแห้งแข็ง (แต่ไม่แตกลอกเหมือนหน้าหนาวนะคะ) 2. ปากคอแห้ง แสบคอ (ไม่ใช่เจ็บคอนะคะ) 3. ปวดศีรษะ (แบบรำคาญ) แต่บางท่านที่ร้อนจัด อาจจะรู้สึกคล้ายถูกกระตุก 4. การรับรู้รสอาหาร หรือการทานอาหารแล้วรู้สึกขมปาก ดูไม่อร่อยกับอาหารที่ทาน เหมือนเบื่ออาหาร 5. กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ (หลับ ๆ ตื่น ๆ) 6. รู้สึกว่าระบบขับถ่ายไม่ปกติ ถ่ายยากขึ้น ไม่เป็นเวลา กะปริบกะปรอย เวลาเบาจะรู้สึกมีความร้อนสูงตามมาด้วย 7. บางคนที่มีร่างกายเป็นธาตุเย็น ความร้อนจะสะสมจนรู้สึกปวดแสบกระบอกตา เหมือนน้ำตาแห้ง อันนี้ต้องระวังค่ะ แสดงว่าความร้อนเริ่มสะสมมากขึ้น จนร่างกายเริ่มไม่ไหวแล้ว เพราะคนที่ธาตุเย็นจะเริ่มรู้สึกตอนที่เป็นมาก ซึ่งที่จริงแล้วจะเรียกว่าเป็นไข้ก็ไม่เชิง เพราะจะไม่มีอาการไข้สูงแบบเป็นไข้ คือร่างกายดูเหมือนหรือคล้ายปกติ แต่ความคล่องตัวดูถดถอย ปวดเมื่อย เนือย ๆ อยากนอน ซึ่งทางแพทย์แผนจีนเรียกว่า "พิษความร้อนสะสม" หรือมีการสะสมความร้อน ที่ร่างกายระบายได้ไม่หมด บางครั้ง ผู้มีอาการหวัดแดดมักสับสนระหว่างอาการ "ไข้หวัด" กับ "หวัดแดด" ซึ่งจะมีอาการที่คล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก กล่าวคือ มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เหมือนกัน แต่ไข้หวัดจะมีอาการ น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ เพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส การตากฝน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงฉับพลัน ในขณะที่หวัดแดดจะมีอาการตาแดง เนื้อตัวร้อน มีสาเหตุจากการตากแดดเป็นเวลานาน การเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลันของกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น 1. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด หรืออากาศร้อนจัด 2. หากคุณออกไปเผชิญกับความร้อนในยามแดดเปรี้ยง ควรเลี่ยงที่จะเข้าที่เย็น อย่างเย็นออฟฟิศที่มีแอร์ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่อุณภูมิแตกต่างจากข้างนอกในทันที 3. เลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะนอกจากความร้อนแล้ว ยังมีความอบอ้าว อาจทำให้วิงเวียนศีรษะได้ 4. การเลือกรับประทานอาหาร การทานเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยหวังจะบำรุงร่างกาย อาจเป็นการสร้างภาระให้แก่ม้ามหนักขึ้น ทางที่ดีจึงควรเลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย อาทิ ถั่วแดง ฟัก แตงโม ผักกาดขาว และลดปริมาณน้ำเย็นหรือของกินเย็น ๆ เพื่อลดภาระการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร ส่วนการปฏิบัติตัวสำหรับคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดแดดแล้ว ก็รักษาอาการเหมือนไข้หวัดปกติเลย นั่นก็คือ
Cr. kapook |
ร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด |
|
|