3 วิธีง่าย ๆ ทำให้ลูกเลิกทะเลาะกัน
“แม่ครับ น้องเล่นของเล่นผมพัง”
“พ่อคะ พี่เขาแกล้งหนู”
สำหรับครอบครัวไหนที่มีเจ้าตัวแสบมากกว่า 1 คน คงเคยเจอเหตุการณ์ชวนปวดหัวแบบนี้ ใช่ไหมคะ
เด็ก ๆ ที่เป็นพี่น้องกัน มักทะเลาะกันด้วยสาเหตุหลายอย่าง ทั้งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึง เรื่องใหญ่ เช่น การแย่งของเล่น แย่งเสื้อผ้า แย่งทีวี แย่งพื้นที่เล่น หรือหลาย ๆ ครั้งการเล่นกันเอง แล้วฝ่ายหนึ่งเผลอเล่นแรง ขณะที่อีกฝ่ายไม่ยอม เป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียงเอาชนะ ถึงขั้นเผลอลง ไม้ลงมือทะเลาะวิวาทกันได้ บ่อยๆ เข้าก็กลับกลายเป็นปัญหาของครอบครัวไป
ทั้งนี้ ผลการศึกษาจาก Child Abuse and Neglect ชี้ว่า “เวลาที่เด็กถูกผลัก หยิก ตี พวก เขาจะหงุดหงิดและโกรธเกรี้ยวได้เท่า ๆ กับผู้ใหญ่ตัวโตคนหนึ่ง และนั่นก็ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนา อีคิวของลูก และหากมีเรื่องวิวาทเกิดขึ้นมากกว่า 5 – 6 ครั้ง / ปี ความรุนแรงจะกลายเป็นความ กดดัน ความโกรธ และความเสียใจเรื้อรังฝังรากลึกอย่างยากจะถอนคืน” (ข้อมูลจาก amarinbabyandkids; 5 ส.ค. 2014) นั่นแสดงให้เห็นว่า นอกจากพ่อแม่จะเสียสุขภาพจิตแล้ว ถ้า ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ ก็จะมีผลต่อการเติบโตของเด็กในด้านอารมณ์ ซึ่งไม่เป็นผลดี ต่อเด็กในระยะยาวแน่นอน
ดังนั้น บทบาทของพ่อแม่ในการจัดการกับปัญหาลูกทะเลาะกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ น้อยไปกว่าการสอนลูกให้มีความสามารถในด้านการเรียนเลย เรามาดู 3 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้เด็ก ๆ เลิกทะเลาะกันดีกว่าค่ะ
1. เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งเกิดขึ้นกับเจ้าตัวแสบ ให้ใช้วิธีการแยกเด็กที่เป็นคู่ กรณีออก ให้อยู่คนละที่ ไม่ให้เผชิญหน้ากันเพื่อให้เด็กสงบสติอารมณ์ โดยกำหนดกติกาว่า "จะได้ เล่นกันได้อีกก็ต่อเมื่ออารมณ์สงบแล้ว" อาจใช้ระยะเวลากำหนดร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไป เด็ก ๆ จะ อยากเล่นกันจนต้องเลิกทะเลาะกันไปเอง ผลดีที่ตามมา คือ ลูกได้ฝึกควบคุมอารมณ์ด้วยตัวเอง และเรียนรู้เรื่องกติกา
2. พ่อแม่ต้องไม่ทำให้บรรยากาศแย่ลงไปอีก เพราะบางครั้งพ่อแม่เหนื่อยมาจากการทำงาน ทำให้หงุดหงิดง่าย ต้องระวังในเรื่องนี้ การดุว่า บ่น เปรียบเทียบ ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น กลับทำให้แย่ ลงอีกต่างหาก ยิ่งการตี นี่เป็นสิ่งต้องห้ามเลยนะคะ เพราะไม่ได้แก้ปัญหา แต่เป็นการใช้กำลังหยุด ลูกที่อ่อนแอกว่าแค่นั้น
3. สอนการเจรจาและการประนีประนอม ด้วยการพูดคุยด้วยเหตุผล ให้โอกาสลูกได้พูดทีละ คน โดยไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สอนให้ลูกร่วมกันคิดหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุก ฝ่าย เช่น ให้เด็กลองออกความเห็นกันทั้งคู่ หรือพ่อแม่จะเป็นผู้เสนอทางออกเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับลูกก่อนก็ได้ หลังจากนั้นจึงให้ลูกปฏิบัติตาม เพื่อฝึกให้ลูกสามารถเป็นผู้แก้ไขปัญหาให้กับ ตัวเองได้ในอนาคต
การทะเลาะเบาะแว้งกันสำหรับลูก ๆ อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยก็จริง แต่หากพ่อแม่ สามารถป้องกันความขัดแย้งในเบื้องต้นได้ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยพ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต่อลูก ๆ ผ่านกิจกรรมในครอบครัว ฝึกให้เด็กทำกิจกรรมเหล่านั้นร่วมกัน ฝึกการให้และการรับ รวม ถึงการแสดงออกถึงความรักความอบอุ่นแก่ลูกอย่างเท่าเทียม หลีกเลี่ยงการทำให้เด็กคิดว่ารักลูก คนใดคนหนึ่งมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กอีกคนน้อยใจ เกิดความอิจฉาขึ้น และเป็นสาเหตุนำไป สู่ความขัดแย้งของพี่น้อง สุดท้ายเรื่องสำคัญมากในครอบครัวคนไทย คือ ไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก เพราะจะทำให้เด็กที่ถูกเปรียบเทียบรู้สึกด้อยค่า ขาดความมั่นใจ และก้าวร้าว จนเกิดปัญหาใหญ่โต ในอนาคตได้
By ปังปอนด์
ภาพประกอบจาก centerforparentingeducation.org, uldissprogis.files.wordpress.com
|