อาการ "ขมปาก" "ขมคอ" เป็นเพราะอะไร บ่งบอกอะไรได้บ้างนะ
ทุกครั้งที่เกิดอาการขมปาก หรือขมคอ รู้สึกว่าลิ้นฝาด ๆ หลายคนจะเริ่มรู้ตัวว่าร่างกายเราอาจผิดปกติอะไรสักอย่างแล้ว บางทีก็มักมาพร้อมกับความเจ็บป่วยเสียด้วย ซึ่งเมื่อเป็นขึ้นมาแล้ว ก็ไม่สนุกเอาเสียเลย เพราะไม่ว่าจะรับประทานอะไร ก็จะส่งผลกระทบไปหมด ทำให้รู้สึกไม่ค่อยอยากอาหาร จนอาจอ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้เลย จริง ๆ แล้วอาการแบบนี้สามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกต่อถึงสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยนะคะ จะเป็นอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันค่ะ
1. พักผ่อนไม่เพียงพอ ถ้าเราอดหลับอดนอน นอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียง ก็สามารถทำให้ร่างกายเกิดการแปรปรวนได้ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลได้ถึงประสาทการรับรสของลิ้นทีเดียวค่ะ เริ่มตั้งแต่น้ำลาย ซึ่งอาจมีการไหลเวียนเปลี่ยนไป คอแห้ง และปากขมตามมา ทำให้ประสาทรับรสในส่วนนี้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ถ้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็จะค่อย ๆ กลับคืนมาเหมือนเดิม
2. ปัญหาสุขภาพช่องปาก รู้มั้ยเอ่ย...การที่เราแปรงฟันไม่สะอาดนี่แหละ เป็นอีกหนึ่งตัวการทำให้ปากขม ทั้งนี้เพราะพวกเชื้อแบคทีเรีย เศษอาหารต่าง ๆ จะก่อให้เกิดคราบพลัค ฉาบตามผิวฟัน เกิดเป็นฝ้าบนลิ้น ทำให้ความสามารถในการรับรสของเราลดลงค่ะ ดังนั้นเพื่อสุขอนามัยที่ดี ต้องแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธีกันด้วยนะคะ อย่างน้อยต้องแปรงวันละ 2 ครั้งคือหลังตื่นนอน และก่อนเข้านอนค่ะ
3. ผลข้างเคียงของการสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารอันตรายมากมาย โดยเฉพาะสารประเภนิโคติน รวมไปถึงสารเคมีในกลุ่มกาว เบนซิน และสารประกอบปิโตรเลียม ต่าง ๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบได้ตั้งแต่โพรงจมูก ช่องปาก ยวไปจนถึงปอดเลยทีเดียวค่ะ สารเหล่านี้เป็นพิษต่อร่างกาย กอให้เกิดอาการขมปากขมคอ ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ทางแก้ที่ดีที่สุดคือเลิกบุหรี่ เพราะถ้าสูบจนมีอาการถึงขั้นนี้คือมีแนวโน้มจะเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจแล้ว แต่ในเบื้องต้นเท่าที่ทำได้ก่อน หลังจากสูบบุหรี่แล้วก็พยายามบ้วนปากบ่อย ๆ เพื่อลดการเกาะของคราบน้ำมันและเขม่าในช่องปากนะคะ
4. เป็นหวัด ไข้หวัด การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงอาการของโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ก็สามารถส่งผลกระทบถึงประสาทการรับรส จนมีความรู้สึกขมปากขมคอได้ เช่นกันค่ะ ซึ่งจุดนี้คงจะมีอาการเบื่ออาหารในระหว่างที่ป่วยกันไป แต่ถ้าหายป่วยแล้วอาการนี้ก็จะหายไปด้วย
5. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาบางชนิดที่ขมมาก ๆ เช่น ยาโรคหัวใจ ยาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ยาปฏิชีวนะ หรือแม้แต่อาหารเสริมบางชนิด ก็อาจทำให้รสขมติดปากติดคออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงยาหยอดตาหยอดจมูกด้วย เนื่องจากท่อน้ำตานั้นเชื่อมต่อลงไปถึงโพรงจมูกนั่นเองค่ะ ซึ่งหากหยุดยาพวกนี้ไป การรับรสของเราก็จะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
6. กรดไหลย้อน ถ้าคุณไม่ป่วยไข้ตัวร้อน หรือกำลังรับประทานยาอยู่ แล้วเกิดอาการขมปากขมคอขึ้นมา โรคกรดไหลย้อนถือเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งรสขมนี้อาจเกิดจากกรดซึ่งไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ดังนั้นการดูแลในเบื้องต้นเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ก็ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา เคี้ยวให้ละเอียด เน้นอาหารที่ย่อยง่าย และมื้อสุดท้ายของวันควรห่างจากเวลานอนหลับประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงนะคะ
7. ตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น ส่งผลให้การรับรส รับกลิ่น และความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไปหมด รู้สึก ขมปาก ขมคอ ไม่อยากทานอาหาร และบางครั้งก็อาจมีอาการจมูกไวผิดปกติ ทำให้ได้กลิ่นอะไรก็เหม็นไปหมดทุกอย่างด้วย
อาการ ปากขม คอขม นั้นอาจนำไปสู่หลายสาเหตุได้จริง ๆ ค่ะ ซึ่งสัญญาณบางอย่างก็ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงได้เลยทีเดียว เมื่อเรารู้แบบนี้แล้วก็ต้องหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองกันด้วยนะคะ เพื่อที่จะได้แก้ไข และป้องกันได้อย่างตรงจุดนั่นเองค่ะ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการสังเกต อาการ "ขมปาก" "ขมคอ" และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ
ข้อมูลจาก Gedgoodlife
|