4 ไข้หวัดสุดแปลกที่คุณแม่ควรระวังให้ดี
ไข้หวัดยังคงระบาดอยู่ไม่สร่างซา ไม่ว่าจะผู้ใหญ่ หรือเด็กวัยเรียน รวมไปถึงเด็กเล็ก อย่างที่เราหันไปมองทางไหนก็มักจะมีคนป่วยให้เห็นอยู่เสมอ ๆ เพราะภัยจากโรคหวัดเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนในครอบครัวควรช่วยเป็นหูเป็นตา คอยเอาใจใส่ ดูแลกันและกัน วันนี้เรามี 4 ไข้หวัดที่ อาจจะฟังแล้วไม่คุ้นหู แต่ทำความรู้จักไว้ก่อนจะสายเกินแก้กันดีกว่าค่ะ
1. ไข้ลาสซา โรคไข้ลาสซา จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับโรคอีโบลา โรคนี้ติดต่อจากการที่คนหายใจเอาละอองของเสีย ที่หนูขับถ่ายออกมา เช่น ปัสสาวะ และอุจจาระ เข้าไป หรือการกินอาหารหรือการใช้ภาชนะที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หรือติดเชื้อทางแผล เมือก เยื่อบุผิว อาการ : อาการของโรคในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการนอกจากมีไข้ โดยไข้จะยังคงมีอยู่ตลอด หรืออาจไข้สูงเป็นระยะ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เจ็บหน้าอก และปวดบริเวณช่องท้อง อ่อนเพลีย ไม่มียารักษาเฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค วิธีป้องกัน : ควรดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นพิเศษ โดยหมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ ควรล้างทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค ดูแลความสะอาดรอบที่พัก เพื่อควบคุมการกำจัดหนูและสัตว์กัดแทะซึ่งเป็นพาหะนำโรค
2. ไข้หูดับ โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตค็อกคัสซูอิส ที่อยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในกระแสเลือดของหมูที่กำลังป่วย โรคนี้สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ ทางการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องในหมู และเลือดของหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือเยื่อบุตา และการกินหมูดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาการ : เชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจอักเสบ ทำให้ประสาทหูทั้ง 2 ข้างอักเสบและเสื่อมจนหูหนวก จะป่วยหลังติดเชื้อประมาณ 3 - 5 วัน อาการที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูดับ ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด วิธีป้องกัน : จัดเตรียมอาหารและปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ ขอให้ระมัดระวังเรื่องการรับประทาน โดยเฉพาะลาบ หลู้หมูดิบ หมูกระทะปิ้งย่าง จิ้มจุ่ม แบบสุก ๆ ดิบ ๆ และไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอย่างพื้นที่เลี้ยงหมู เป็นต้น
3. ไข้ละอองฟาง โรคไข้ละอองฟาง เป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ละอองจากฟาง ละอองจากหญ้าแห้ง ละอองจากดอกหญ้า หรือละอองจากต้นหญ้า แต่เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบมีหลากหลายชนิด ไม่จำกัดเฉพาะจากหญ้าดังกล่าว โรคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อคือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ด้วย อาการ : ผู้ป่วยโรคไข้ละอองฟางจะมีอาการทางจมูกอย่างน้อย 2 ใน 4 อาการต่อไปนี้คือ จาม คันจมูก คัดจมูก และมีน้ำมูกใส ๆ นอกจากนี้อาจมีอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล หรือหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วยได้ อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเรื้อรัง และอาจมีสังเกตได้ว่ามีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชัดเจน เช่น เดินในสนามหญ้า แล้วมีอาการจาม มีน้ำมูกขึ้นมาเฉียบพลัน วิธีป้องกัน : พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน รักษาความสะอาดเครื่องใช้ต่าง ๆ กำจัดฝุ่นละออง ใช้หน้ากากอนามัย เป็นต้น
4. ไข้ดำแดง โรคไข้ดำแดง เป็นโรคติดต่อซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสชนิดเอ ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น คออักเสบ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง เป็นต้น โรคไข้ดำแดงมักจะเกิดในเด็กอายุระหว่าง 2 - 8 ปี แต่ก็พบได้บ้างในช่วงวัยอื่น ๆ อาการ : มีไข้ เจ็บคอ มีผื่นแดงตามลําคอ รักแร้ ลําตัว แขน ขา ลักษณะของผื่นเมื่อสัมผัสจะคล้ายกระดาษทราย ใบหน้าแดง ริมฝีปากซีด และอาจมีปื้นขาวที่ลิ้น ซึ่งภายหลังจะลอกออกทําให้ลิ้นมีลักษณะบวมแดง ติดต่อจากการหายใจหรือสัมผัสผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการ วิธีป้องกัน : ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน หากมีเด็กป่วยในบ้าน พ่อแม่ควรแยกออกจากกันทันที
นับได้ว่าไข้หวัดทั้ง 4 อย่างที่เรานำเสนอนี้ แม้จะมีชื่อที่ไม่คุ้นหู แต่ทุกโรคก็ล้วนเกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรช่วยกันอัพเดตความรู้ หมั่นสังเกตอาการ เพราะว่าคนใกล้ชิดของคุณอาจไม่ได้เป็นแค่ “ไข้หวัดธรรมดา” ก็ได้ และหากพบคนป่วยในบ้าน ก็ควรแยกกัน เว้นระยะให้ห่างทันทีนะคะ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วย “4 ไข้หวัดสุดแปลกที่คุณแม่ควรระวังให้ดี” และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ
ข้อมูลจาก สสส.
|