ฝุ่นละออง PM 2.5 รับมืออย่างไร...ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ถึงตอนนี้อาจยังไม่สายไป ที่จะพูดถึงวิธีรับมือกับฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นและพูดถึงกันอยู่ในปัจจุบัน ว่าระหว่างที่รอภาครัฐดำเนินการทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ประชาชนอย่างเรา ๆ จะมีวิธีการรับมือกันอย่างไร สำคัญมากเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กิจวัตรประจำวันต้องออกนอกสถานที่ อยู่บนถนน นอกอาคาร และยิ่งเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุด้วยแล้ว ยิ่งอันตรายใหญ่ วันนี้เรามาดูวิธีการรับมือกันเลย... สำหรับ “ฝุ่นละอองในอากาศ” ที่เราสัมผัสสูดดมนั้น จะมีขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา มีทั้งแบบที่เรามองเห็นและไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้นจากการสูดดมนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลด้านสุขภาพต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และมีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ไปจนถึงถุงลมปอด แล้วทำให้เกิดการอักเสบ ระคายเคือง นำมาซึ่งโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยฝุ่นยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มความอันตรายมากขึ้นเท่านั้น (ข้อมูลจาก www.tqm.co.th) ต้นเหตุการณ์เกิดหมอกควันพิษ เช่น โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วย ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่าง ๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM 2.5 ในบรรยากาศ คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง เป็นต้น (ข้อมูลจาก www.honestdocs.com) ในผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีแนวทางปฏิบัติในเบื้องต้นดังนี้ แม้ว่าจะมีการป้องกันตามข้างต้นแล้ว หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พิจารณาไปพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและวางแผนการรักษา อาการดังกล่าวได้แก่ ระคายเคือง แสบตา ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ภูมิแพ้ อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอยู่ก่อน อาจทำให้อาการกำเริบขึ้นอย่างรวดเร็ว มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “ฝุ่นละออง PM 2.5 รับมืออย่างไร... ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ |
Home >> |
ฝุ่นละออง PM 2.5 รับมืออย่างไร...ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ |
|
|