รูปประกอบจาก http://media.thaigov.go.th
โรคร้ายแรงที่อาจมากับฝุ่นพิษ
จากข่าวล่าสุดปัญหาฝุ่นพิษยังคงหนักอยู่ โดยนอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว ยังเกิดปัญหาขึ้นในหลายจังหวัดภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ฝุ่นพิษโดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเล็ก เช่น ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ๆ จนขนจมูก และหน้ากากอนามัยแบบปกติ ไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกาย สู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด ส่งผลต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคตามมามากมาย
องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 ไว้ที่ไม่เกิน 25 และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สหรัฐอเมริกา กำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงและค่าเฉลี่ยรายปีของ PM 2.5 ไว้ที่ 35 และ 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนสหภาพยุโรป กำหนดแค่ค่าเฉลี่ยรายปีที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนของไทย ปี พ.ศ. 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกประกาศฉบับที่ 23 กำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ที่ไม่เกิน 50 และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ (ข้อมูลจาก themomentum.co)
การอยู่ในสภาพอากาศที่เป็นมลพิษเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งจากอาการเบื้องต้นของระบบหายใจ ไปจนถึงโรคร้ายแรงในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย (ข้อมูลจาก Promotion.co.th) มีโรคอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ 1. โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดแตก ทำให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดไป การที่สมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการแสดงอาการ ต่าง ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว เช่น ปวดหัวแบบทันที ตามัว มีอาการชาที่ใบหน้า หรือบริเวณแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง (ข้อมูลจาก Wikipedia.org) 2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศในระบบทางเดินหายใจ และจะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป อาการที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ เหนื่อย ไอ และมีเสมหะ การไอเรื้อรังนั้นมักเป็นอาการแรกที่เกิดขึ้น เมื่อ เกิดอาการเป็นเวลานานกว่าสามเดือนในหนึ่งปี ร่วมทั้งมีเสมหะโดยไม่มีสาเหตุอื่น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ พันธุกรรม เป็นต้น (ข้อมูลจาก Wikipedia.org) 3. โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย รวมถึงมะเร็งปอดอีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย ทั้งเพศชายและเพศหญิง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม บุหรี่ พันธุกรรม เป็นต้น 4. โรคหัวใจขาดเลือด โรคที่เกิดเมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตัน ทำให้เส้นเลือดที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้นอุดตัน ทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงดู ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่จะทำให้อันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจค่อย ๆ ตายและเสียชีวิตในที่สุด
สำหรับวิธีการป้องกันตัวจากฝุ่นพิษหรือฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้โดย
• การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง N95 (หน้ากากชีวนิรภัย) ทั้งนี้ หน้ากากแบบปกติไม่สามารถดักจับฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ได้
รูปประกอบจาก promotions.co.th
• กรณีไม่สามารถหาซื้อหน้ากาก N95 ได้ สามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา แล้วนำกระดาษทิชชูมาซ้อนกัน 2 ชั้น บนหน้ากาก ก็สามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
• การสวมหน้ากาก ควรครอบปากและจมูก กดขอบลวดด้านบนให้แนบกับดั้งจมูก และดึงสายรัดให้ตึง ระหว่างหายใจ จะต้องไม่มีลมรั่ว ออกทางด้านข้างได้เลย ถึงจะป้องกันตัวเราได้ 95% • เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรจะได้รับการป้องกันจากฝุ่นพิษเป็นพิเศษ • ควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันฝุ่น และหากเป็นไปได้ให้งดทำกิจกรรมที่ต้องอยู่ภายนอกอาคาร • แนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยวันเดียวแล้วทิ้ง โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 3 ครั้ง • หากหน้ากากอนามัยมีการสัมผัสสิ่งสกปรก หรือยางของหน้ากากอนามัยหย่อนลง ควรเปลี่ยนหน้ากากทันที เพื่อเป็นการป้องกันให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “โรคร้ายแรงที่อาจมากับฝุ่นพิษ” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ
|