(ภาพประกอบจาก static.toiimg.com)
ร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 - 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน สำหรับ “โรคลมแดด” หรือ Heat stroke นั้น เกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โรคลมแดดสามารถแบ่งได้เป็น 1) โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกายหนัก มักพบในกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อน เช่น เด็กโต วัยรุ่น นักกีฬา ทหารเกณฑ์ที่ฝึกในอากาศร้อนจัด หรือผู้ที่ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ร่วมกับปัจจัยอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูง และ 2) โรคลมแดดทั่วไป มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง ผู้ที่ต้องรับประทานยา เบาหวาน ความดัน ผู้ป่วยเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กลุ่มที่ใช้สารเสพติด ยาคลายกล้ามเนื้อ และยานอนหลับ ทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย อาการที่สำคัญ ได้แก่ ตัวร้อน อุณหภูมิร่ายกาย 41 องศาเซลเซียส มีเหงื่อออกในกลุ่มที่ออกกำลัง และไม่มีเหงื่อออกในกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังหรือโรคลมแดดทั่วไป ประวัติสัมพันธ์กับอากาศร้อนขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย มีอาการเพ้อ ความดันเลือดลดลง การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย มึนงง สับสน ชักเกร็ง หมดสติ โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากได้รับความร้อนจะมีการปรับตัว โดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับและกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ (ข้อมูลจาก www.bangkokhospital.com) แนวทางการให้การช่วยเหลือ ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าในร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ถอดเสื้อผ้า ใช้น้ำเย็นประคบบริเวณ ใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อน ใช้น้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล สำหรับแนวทางในการป้องกัน (ข้อมูลจาก www.bumrungrad.com) มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อน” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ |
Home >> |
โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อน |
|
|