(รูปประกอบจาก www.freepik.com)
5 กลุ่มโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประกาศเตือน ได้แก่ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ บิด เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบเจอี โรคมาลาเรีย กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง ได้แก่ โรคไข้ฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิส กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง มาดูรายละเอียดของโรคกันค่ะ โรคไข้หวัดใหญ่ อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดจากเชื้อไข้หวัดชนิดเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากไวรัสชนิดเดิมมาก นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B เชื้อที่เปลี่ยนไปนี้เองที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงเกิดการระบาดได้ง่าย อาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เจ็บคอ และบางรายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การรักษา นอกจากรักษาตามอาการแล้วผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1 / DENV-2 / DENV-3 / DENV-4 เป็นโรคที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ในช่วงหน้าฝนจะมียุงลายเติบโตเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมักแพร่ระบาดในช่วงหน้าฝนมากที่สุด ผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใด จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น ดังนั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปก็ย่อมมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้อีก ที่สำคัญการติดเชื้อครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก การป้องกันควรกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านให้หมด และอย่าลืมป้องกันยุงกัดด้วยการจุดยากันยุง หรือกางมุ้งนอน (ข้อมูลจาก honestdocs.co) โรคฉี่หนู เป็นโรคที่ระบาดมากที่สุดในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงเชื้อเลปโตสไปราซึ่งอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข มารวมอยู่ในน้ำท่วมขัง โดยเชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล หรือรอยขีดข่วนที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเปื่อยจากการแช่น้ำนาน ๆ โดยมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน ตาเหลือง ตัวเหลือง ความดันโลหิตต่ำ ต่อมาตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ บางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู หากมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ สัมผัสแหล่งน้ำที่ท่วมขัง โดยสวมรองเท้าบูทยาง และควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่สัมผัสน้ำท่วมขัง โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัส adenovirus ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอเนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยเป็นการติดต่อจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน ดังนั้น เชื้อโรคจึงแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมาก ๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมักไม่เคร่งครัดในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคเท่ากับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก www.bumrungrad.com) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อุจจาระร่วงเป็นกลุ่มอาการที่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปาราสิต เช่น Rotavirus, Escherichia coli, Giardia lamblia, Campylobacter jejuni ฯลฯ สาเหตุการป่วยมาจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญคือ ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกปนเลือด อาจมีอาการไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงส่วนใหญ่จะหายเองได้ รายที่มีอาการรุนแรง จะเห็นว่าโรคที่ระบาดในหน้าฝน มักจะเกี่ยวเนื่องกับเชื้อโรคที่สามารถระบาดได้ดีในช่วงที่มีฝน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดจึงเป็นเรื่องของการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนสิ่งสกปรก และในบางโรคการฉีดวัคซีนป้องกันจะเป็นสิ่งที่ดี
|
Home >> |
โรคภัยที่มากับการเปลี่ยนเข้าสู่หน้าฝน |
|
|