ไอตอนกลางคืน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร
สาเหตุ ไอตอนกลางคืน มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ฝุ่น โดยเฉพาะในห้องนอน ซึ่งอาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่น ไร และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อากาศเย็นเกินไป อากาศแห้งเกินไป แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้การนอนบางท่า อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารตีกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ส่งผลให้รู้สึกระคายคอเกิดอาการไอ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากยา การสูบบุหรี่ และยังอาจเกิดจากโรคบางชนิดได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อนโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ไซนัสอักเสบ และไข้หวัดชนิดติดเชื้อไวรัส
โดยหากมีอาการไอตอนกลางคืนติดต่อกันหลายวัน ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาให้ดี ขึ้น
วิธีการป้องกัน 1. จัดห้องนอนให้โล่ง มีอากาศถ่ายเท และไม่รกจนเป็นแหล่งสะสมของฝุ่น 2. หมั่นทำความสะอาดห้องนอนและเครื่องนอนทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะคนที่เป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้ฝุ่น 3. พยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยเฉพาะแอร์ ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง โดยควรนอนอยู่ห่างจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมพอสมควร พร้อมทั้งไม่ควรเปิดแอร์หรือพัดลมจ่อ 5. นอนห่มผ้าทุกครั้ง โดยควรให้ผ้าห่มคลุมหน้าอกอยู่ตลอดเวลาที่นอน 6. ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง น้ำจะช่วยเคลียร์ระบบทางเดินหายใจให้โล่งขึ้นได้ 7. จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อช่วยลดการอักเสบและช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการไอ 8. จิบชาสมุนไพร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้เยื่อบุจมูก และทำให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น 9. แก้ไอด้วยสมุนไพรใกล้ตัว 10. หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหารทันที โดยควรเว้นระยะอย่างน้อย 2.5 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารเย็น โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นอาการด้วยนะคะ 11. นอนหนุนหมอนสูง ในคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เพื่อที่กรดในกระเพาะจะได้ไม่ตีกลับมาที่หลอดอาหารได้ง่าย ๆ 12. หากจำเป็นต้องนอนในห้องแอร์ ควรวางเหยือกน้ำเปล่าไว้ใต้แอร์ เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ 13. เลิกบุหรี่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ 14. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางตัว เช่น ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ ที่อาจก่อให้เกิดอาการไอตอนกลางคืน หรือทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์เปลี่ยนยาให้ใหม่ 15. รักษาโรคที่ก่อให้เกิดอาการไอตอนกลางคืน หรืออย่างน้อยควรดูแลตัวเองให้ดี เพื่อป้องกันอาการป่วยทรุดหนักลง และอาจมีอาการไอตอนกลางคืนมากขึ้น
อาการที่ควรพบแพทย์ หากพบว่าตัวเองมีอาการไอตอนกลางคืนดังต่อไปนี้แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เริ่มจากไอตอนกลางคืนถี่ ๆ จนแทบไม่ได้พักผ่อน ไอแบบมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว ไอและมีไข้นานเกิน 7 วัน ไอพร้อมกับมีอาการหายใจหอบเหนื่อยทุกครั้ง เจ็บแปลบที่หน้าอกเมื่อไอ ไอต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด ไอหนักมากและน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “ไอตอนกลางคืน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ
|