รวมวิธีการระบายเสมหะด้วยตัวเองในผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรคระบาด หลายคนมักจะมีอาการหายใจมีเสียงครืดคราด รู้สึกมีเสมหะในทางเดินหายใจ หรือไอแบบมีเสมหะอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้การหายใจเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้น จึงจำเป็นมากที่ต้องกำจัดเสมหะนี้ออกจากทางเดินหายใจ และนี่คือวิธีการระบายเสมหะที่เราอยากแนะนำ
วิธีที่ 1 การไอเพื่อระบายเสมหะ ทำในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว ด้วยวิธีดังนี้
1. นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจเข้า - ออกปกติ 3-5 ครั้ง
2. หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออก
3. กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที พร้อมกับเกร็งเนื้อหน้าท้อง
4. ให้อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม พร้อมไอออกแรง ๆ และยาวจนสุดลมหายใจออก
5. พักด้วยการหายใจเข้า - ออก ปกติ 3-5 ครั้ง
วิธีที่ 2 การระบายเสมหะด้วยวิธีถอนหายใจออกแรง ทำในกรณีที่มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด สามารถทำได้ดังนี้
1. นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจ เข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง
2. หายใจเข้าปกติ จากนั้นพ่นลมหายใจออกจากคอผ่านทางปากแรง ๆ (อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม) พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง จนหายใจออกสุด ทำซ้ำ 3 ครั้ง
3. หายใจเข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง จนหายเหนื่อย
4. อาจทำซ้ำ 3-4 รอบ
วิธีที่ 3 การระบายเสมหะด้วยการหายใจเป็นวงจร active cycle of breathing technique (ACBT) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจที่ไม่สามารถออกแรงมาก จนเหนื่อยเกินไปได้ สามารถทำได้โดย
1. นั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบายและผ่อนคลาย
2. หายใจเข้า - ออกปกติ 5-10 วินาที
3. หายใจเข้าให้สุด โดยเน้นให้ซี่โครงบานออกและหายใจออกสุด
4. หายใจเข้าออกปกติ จากนั้นถอนหายใจออกทางปาก (อ้าปากกดคางลงทำปากเป็นรูปวงกลม) พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กระทั่งหายใจออกสุด ทำซ้ำ 3 ครั้ง และกลับมาหายใจเข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง
5. หายใจเข้า - ออก ปกติ 5 - 10 วินาที จนหายเหนื่อย เป็นต้น
ข้อควรระวังที่สำคัญระหว่างการฝึกระบายเสมหะ หากมีอาการเหนื่อยหอบมาก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หายใจสั้นหรือถี่มาก ๆ ควรพักด้วยการหายใจเข้าออกปกติจนกระทั่งไม่มีอาการดังกล่าวแล้วจึงเริ่มฝึกต่อ จำนวนครั้งในการฝึกต่อวันขึ้นกับปริมาณเสมหะของแต่ละบุคคลด้วย
อีกหนึ่งวิธีเคลียร์เสมหะอย่างได้ผล ที่สำคัญทำได้ง่าย และปลอดภัย คือ เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) ยาเม็ดฟู่ละลายเสมหะ NAC โดย 1 เม็ด มี acetylcysteine 600 mg ช่วยลดความเหนียวและข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น แก้ไอ ช่วยแก้พิษพาราเซตามอล ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดสาเหตุปอดอักเสบ รับประทานวันละ 1 เม็ด โดยใส่ยาในน้ำประมาณครึ่งแก้ว รอให้เม็ดฟู่ละลายจนหมดแล้วรับประทานได้ทันที
เพื่อสุขอนามัยที่ดีทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น หากไอแล้วมีเสมหะออกมาด้วยให้บ้วนเนื้อเสมหะใส่กระดาษชำระ จากนั้นทิ้งใส่ถุงพลาสติกพร้อมมัดปากถุงให้เรียบร้อย