สาเหตุ-อาการ-วิธีรักษา...โรคหลอดลมอักเสบ
ปัญหามลภาวะเป็นพิษไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ควันรถ ควันบุหรี่ ล้วนเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบ โดยโรคนี้สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงวัย ที่น่ากังวลคือ หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน จนทำให้เกิดปอดอักเสบและโรคถุงลมโป่งพองได้
หลอดลมอักเสบ หมายถึง การอักเสบหรือบวมของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้นและหลั่งเมือกออกมามากกว่าปกติ อุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลมแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอ มีเสมหะเหนียวมากขึ้น บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย โดยโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เหมือนไข้หวัด มักเป็นตามหลังไข้หวัด ซึ่งไม่ได้รับการรักษา หรือปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ทำให้การติดเชื้อลามลงไปถึงหลอดลม ผู้ป่วยที่เป็นหวัด มีอาการไอ มีเสมหะ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 สัปดาห์ อาจเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์ ควรรีบรักษาเพื่อไม่ให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันได้
2. โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ โรคหืด รวมถึงการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน (มีอาการไอมีเสมหะมากกว่า 3 เดือน - 2 ปี) หรือสัมผัสกับมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควัน หรือสารเคมี โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น อาจทำให้เสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว
สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบ
- จากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
- จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เช่น Bordateria pertussis, Mycoplasma pneumoniae
- จากการถูกสิ่งระคายเคือง ที่พบบ่อยคือ การสูบบุหรี่ ควันไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สารเคมี
- การระคายเคืองจากน้ำย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
อาการของโรคหลอดลมอักเสบ
เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจหรือบริเวณหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบและบวมมากขึ้น ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบ อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้ไม่ดี หายใจลำบาก ส่งผลให้ไอบ่อย ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ อาจไม่มีหรือมีเสมหะเล็กน้อยในระยะแรก ต่อมาอาจมีเสมหะมากขึ้น ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียอาจมีไข้สูงหรือไอมีเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือง
วิธีรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การสูบบุหรี่ ควันไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สารเคมี
- รักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ ให้รับประทานยาลดไข้, ถ้ามีอาการไอ ให้รับประทานยาแก้ไอหรือยาขยายหลอดลม, ถ้ามีเสมหะเหนียวมาก ให้รับประทานยาละลายเสมหะ
ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบมักมีปัญหาเสมหะ โดยมีเสมหะเหนียวข้น จัดการปัญหาเสมหะกวนตัวกวนใจด้วย เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) เม็ดฟู่ละลายเสมหะ 1 เม็ด มียา Acetylcysteine 600Mg ใช้เพื่อช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ช่วยแก้พิษพาราเซตามอลหรือลดความเป็นพิษต่อตับจากการได้รับยาพาราฯเกินขนาด ลดการอักเสบในปอด ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน รับประทานวันละ 1 ครั้ง โดยละลายยาในน้ำ 1 แก้ว รอให้ฟองฟู่หมดแล้วดื่ม
โรคหลอดลมอักเสบ หากให้การรักษาไม่ถูกต้อง ให้เกิดปอดอักเสบและโรคถุงลมโป่งพองได้ ดังนั้น หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุด