รู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้ม เพื่อพร้อมรับมือ
การหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น หากรู้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้ม ร้อยละ 28-35 ต่อปีและจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป สามารถสรุปได้ว่าความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว ซึ่งการหกล้ม เกิดจากการสูญเสียการทรงตัวของผู้สูงอายุ ทำให้แขน ขา ศีรษะ หรือส่วนอื่นๆ กระแทกกับพื้นหรือสิ่งของต่างๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บทั้งมากและน้อย ไปจนถึงเสียชีวิต โดยเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ปัจจัยเสี่ยงภายใน
- การเปลี่ยนแปลงด้านสายตาของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะปัญหาสายตายาวและโรคต้อ ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นไม่ชัด จึงล้ม
- ข้อต่อและเอ็นอ่อนแอลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทรงตัวไม่ค่อยอยู่
- ผู้สูงอายุมักมีปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะเล็ด กลั้นไม่อยู่ ทำให้ต้องรีบเข้าห้องน้ำ จนเกิดการหกล้มในที่สุด
- โรคประจำตัวบางอย่างที่ส่งผลต่อการหกล้ม เช่น โรคหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน
- การใช้ยาบางตัว ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้ม เนื่องจากฤทธิ์ของยา ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือวูบได้ เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า
2. ปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ
- พื้นบ้านที่ลื่นหรือมีสิ่งกีดขวาง ทำให้ผู้สูงอายุอาจมองไม่เห็น จนสะดุดล้มหรือหกล้มได้
- แสงไฟในบ้านที่สว่างไม่เพียงพอ ทำให้ผู้สูงอายุมองพื้นหรือสิ่งของไม่เห็น
- ขั้นบันไดที่สูงชันหรือแคบ ทำให้ผู้สูงอายุเดินได้ไม่สะดวก
- ห้องน้ำ ที่พื้นห้องน้ำเปียกลื่น หรือมีอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ เป็นบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด
- ห้องครัว เป็นพื้นที่ที่มักมีสิ่งของเยอะ หากวางไม่เป็นระเบียบ จะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดได้
- รองเท้าของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี หรือไม่สบายเท้า จะส่งผลให้ผู้สูงอายุสะดุดหกล้มได้ง่าย
เวียนศีรษะบ้านหมุน อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้ม โดยโรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุเป็นโรคยอดฮิตที่นำพาผู้สูงวัยมาพบแพทย์อยู่บ่อยๆ อาการเวียนศีรษะเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งคนอายุน้อยไปจนถึงคนชรา แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ หากอาการเหล่านี้เกิดในผู้สูงวัย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้ากว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความเสื่อมทางสรีรวิทยาและการมีโรคประจำตัวหลายชนิด อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหรือสภาวะผิดปกติทางร่างกายต่างๆ ตามมามากมาย หนึ่งในนั้น คือ เพิ่มโอกาสในการหกล้ม
ใครที่กำลังมองหายารักษาอาการบ้านหมุนเพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้ม ขอแนะนำ เมอริสล่อน (Merislon) โดยตัวยา Betahistine mesylate ในเมอริสล่อนออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหูชั้นใน รวมถึงลดความดันภายในหูชั้นใน จึงช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน อาการหัวหมุน วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ มีการศึกษาพบว่าเมอริสล่อนให้ผลการรักษาได้จริงในคนไข้ ปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงต่ำ โดยผู้ใหญ่รับประทานเมอริสล่อน ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร (ขนาดยาควรปรับตามอายุ และความรุนแรงของอาการ)
การหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญที่ตัวผู้สูงอายุเองรวมที่คนในครอบครัว ต้องระมัดระวังอย่างมาก อะไรที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ อย่ารีรอที่จะทำ เพราะการหกล้มที่รุนแรงอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้