รู้จักยาละลายเสมหะ 4 ชนิด เช็คก่อนใช้ แบบไหนเหมาะกับคุณ?
เมื่อป่วยหรือมีสารก่อการระคายเคืองมาก ร่างกายจะผลิตเสมหะมากขึ้นจนรู้สึกว่ามีเสมหะในคอ ไม่สบายคอ เพื่อกำจัดเสมหะ ตัวช่วยที่คุณต้องการ คือ ยาละลายเสมหะ เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะ ว่าแต่ท่ามกลางยาละลายเสมหะหลายประเภท หลากยี่ห้อ คำถามคือ แบบไหนที่เหมาะกับคุณ?
ยาละลายเสมหะ (Mucolytic) คือ ยาที่จะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ โดยไปทำลายโครงสร้างของเสมหะให้ลดความหนืดลง เพื่อให้ร่างกายกำจัดหรือขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ใช้เพื่อรักษาอาการระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะมากเกินไปหรืออาการไอแบบมีเสมหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไอแบบเรื้อรัง สำหรับยาละลายเสมหะที่นิยมใช้ ได้แก่
1. อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)
เป็นยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ใช้รักษาอาการป่วยจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่ตับ และรักษาภาวะที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเกิดปัญหาการหายใจ จากภาวะ/โรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอักเสบ โดยยาจะช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจขับมูกเสมหะเหล่านั้นออกมาได้ ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น
รูปแบบยา : ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยารับประทาน (ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ดฟู่)
2. บรอมเฮกซีน (Bromhexine)
เป็นยาช่วยละลายความเหนียวข้นของเสมหะในระบบทางเดินหายใจให้ลดน้อยลง ทำให้ง่ายต่อการขจัดออกจากร่างกายด้วยการไอ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการขจัดสิ่งสกปรก โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาจะไปเพิ่มน้ำในสารคัดหลั่งจนทำให้ขนของเซลล์ (Cilia) โบกพัดเอาเสมหะและสิ่งสกปรกออกจากระบบทางเดินหายใจ
รูปแบบยา : ยารับประทาน (ยาเม็ด และยาน้ำเชื่อม)
3. แอมบรอกซอล (Ambroxol)
เป็นยาลดความเหนียวข้นของเสมหะ โดยออกฤทธิ์ทำลายโครงสร้างเส้นใยมิวโคโพลี แซคคาไรด์ในเสมหะ ทำให้ง่ายต่อการขจัดออกจากร่างกายด้วยการไอ ซึ่งใช้รักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะข้นเหนียว เช่น ขับเสมหะในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและเฉียบพลัน โรคถุงลมโป่งพอง โรคที่เกิดอาการอุดกั้นในปอดเรื้อรัง โรคหืด
รูปแบบยา : ยารับประทาน (ยาเม็ด และยาอม)
4. คาร์บอกซีเมทิลซิสเทอีน (Carboxymethylcysteine)
เป็นยาแก้ไอแบบมีเสมหะสำหรับรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยออกฤทธิ์ลดความเหนียวข้นของเสมหะให้ขับออกมาได้ง่าย ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด ช่วยควบคุมกระบวนการสร้างเสมหะ จึงช่วยปรับระดับความเหนียวข้นและความหยืดหยุ่นของเสมหะให้กลับมาเป็นปกติ
รูปแบบยา : ยารับประทาน (ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน ยาเม็ด ยาเม็ดชนิดเคี้ยว หรือแคปซูล)
ใครที่กำลังมองหายาละลายเสมหะ อะเซทิลซิสเทอีน ขอแนะนำ เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) เม็ดฟู่ละลายเสมหะ 1 เม็ด มียา Acetylcysteine 600Mg ใช้เพื่อช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ช่วยแก้พิษพาราเซตามอลหรือลดความเป็นพิษต่อตับจากการได้รับยาพาราฯ เกินขนาด ลดการอักเสบในปอด ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ความที่เป็นยา NAC จึงค่อนข้างปลอดภัยและแทบไม่มีผลข้างเคียง รับประทานวันละ 1 ครั้ง โดยละลายยาในน้ำ 1 แก้ว รอให้เม็ดฟู่ละลายจนหมดแล้วจึงรับประทาน
เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ป่วยควรใช้ยาละลายเสมหะแต่ละรูปแบบตามที่ระบุบนฉลากหรือตามคำสั่งของแพทย์และเภสัชกร หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ