เลือกยาละลายเสมหะอย่างไรให้ปลอดภัยและดีที่สุด?
อาการไอ มีเสมหะ ถือเป็นความเจ็บป่วยที่แทบทุกคนย่อมเคยประสบพบเจอ ไม่แปลกที่หลายบ้านจะมียาแก้ไอละลายเสมหะติดตู้ยาไว้ คำถามที่ตามมา คือ ท่ามกลางยาแก้ไอละลายเสมหะหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด เราควรเลือกอย่างไรเพื่อให้ได้ยาที่ปลอดภัยและเหมาะกับอาการป่วย
เสมหะ เป็นสารคัดหลั่งลักษณะข้นเหนียวเป็นเมือกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานอย่างเป็นปกติ โดยช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในระบบทางเดินหายใจ และดักจับสารก่อการระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ในอากาศที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นควัน เชื้อโรค เป็นต้น
เสมหะที่ดีจะต้องมีความเหนียวและความยืดหยุ่นที่พอดี จึงจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ แต่เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไประคายเคืองที่หลอดลมรวมถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดเสมหะที่ข้นเหนียวมากเกินไป หรือมีปริมาณมากกว่าปกติ จนก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพ
เคล็ดลับเลือกยาละลายเสมหะให้ปลอดภัยและเหมาะกับอาการป่วย
1. เลือกยาแก้ไอละลายเสมหะกลุ่มยาเอ็นอะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetyl cysteine) เนื่องจากจะออกฤทธิ์โดยตรงต่อเสมหะ ยาจะเข้าไปทำลายการจับยึดเกาะกันของโมเลกุลเสมหะ ช่วยลดความเหนียวและข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะอ่อนตัว ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยากลุ่ม NAC ยังช่วยเพิ่มการทำงานของขนกวัดของเยื่อบุทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และปอด ช่วยให้ขับเสมหะออกจากหลอดลม และปอดได้มากขึ้น
2. เลือกยาแก้ไอละลายเสมหะประเภทเม็ดฟู่ เนื่องจากช่วยให้รับประทานได้ง่ายและร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ง่ายขึ้น
3. เลือกยาที่บรรจุในปริมาณที่เหมาะสมคือ 600 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค
4. เลือกยาที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อย
ถ้าเลือกไม่ถูกแนะนำ เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) ยาละลายเสมหะประเภทเม็ดฟู่ 1 เม็ด มี acetylcysteine 600 mg มาพร้อมสรรพคุณละลายเสมหะ แก้ไอ และแก้พิษพาราเซตามอล ทำให้เสมหะที่เหนียวข้นเหลวลงและถูกขับออกได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอที่มีเสมหะ ในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่องคออักเสบ หอบหืด ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ความที่เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดีเป็นยากลุ่มยาเอ็นอะเซทิลซิสเทอีน จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยและแทบไม่มีผลข้างเคียง
ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยา รวมถึงอ่านฉลากที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ยาก่อนเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าตัวยานั้นเหมาะสำหรับรักษาอาการของตนเอง และไม่ใช่ตัวยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้มาก่อน