"4 ข้อแนะนำเพื่อขจัดปัญหาจากการกินยาของผู้สูงอายุ"
เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บเริ่มมาเยือน ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ อาการเจ็บป่วยก็ยิ่งเพิ่มตาม ยาจึงเปรียบเสมือนเพื่อนคู่กายของเหล่าผู้สูงวัย และเพราะการทำงานของร่างกายที่เสื่อมถอย ทำให้เรื่องที่คนส่วนใหญ่มองว่าง่าย เช่น การกินยา กลับเป็นเรื่องยากและอาจนำมาซึ่งอันตรายแก่ผู้สูงวัยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
4 ข้อแนะนำเพื่อขจัดปัญหาจากการกินยาของผู้สูงอายุ
1. ลืมกินยา นับเป็นปัญหายอดนิยมของผู้สูงวัย โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ต้องกินยาเป็นประจำ และมียาหลายชนิดที่ต้องกินในแต่ละมื้อ ขณะที่ความจำเริ่มลดลง พฤติกรรมลืมกินยาจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อย สำหรับวิธีปัญหาดังกล่าว เช่น ให้สมาชิกในครอบครัวควรช่วยกันดูแลหรือคอยเตือนให้กินยา, วางยาที่โต๊ะอาหาร หรือที่หัวเตียงกรณีที่กินยาก่อนนอน, เขียนบันทึกเตือนความจำให้กินยา ติดไว้บนตู้ยา หรือบนตู้เย็น หรือบริเวณที่มองบ่อย ๆ หรือมองเห็นได้ชัด
2. การกลืนยายาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร และกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน ส่งผลให้ความสามารถในการกลืนของผู้สูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกลืนลำบากยิ่งขึ้น จึงควรเลือกยารูปแบบที่ง่ายต่อการกลืน เช่น ยาน้ำ ยาเม็ดฟู่ เนื่องจากช่วยให้รับประทานได้ง่าย ในกรณีที่กินยาเม็ด ต้องมีสติเวลากินและเวลากลืน ค่อย ๆ กินทีละเม็ด การกินยาหลายเม็ดทีเดียว อาจทำให้ยาร่วงไปยังหลอดลม เกิดการอุดตันหายใจไม่ออก หรือสำลักยาจนเกิดอันตรายได้
3. ยาดูดซึมยาก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากความชรากับการกำจัดยาออกจากร่างกาย ทำให้การดูดซึมยาลดลง การกระจายตัวของยาไม่ค่อยดี จึงควรเลือกยารูปแบบที่ดูดซึมง่าย เช่น ยาเม็ดฟู่ ยาอมใต้ลิ้น ยาพ่นจมูก เนื่องจากช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ง่ายขึ้น รวมถึงกินยาให้ถูกขนานและขนาด ไม่หยุดยาเองเพราะอาจเกิดการดื้อยาได้ และไม่กินยาปริมาณมากหรือกินติดกันนานเกินคำสั่งของแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรือพิษจากยาได้
4. ยาสะสมในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้ีน ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ทำให้การขับถ่ายยา ซึ่งส่วนใหญ่ถูกขับออกทางไตย่อมน้อยลง โอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายมีมากขึ้น จนเกิดอาการแพ้ได้ จึงไม่ควรหาซื้อยามากินเอง ต้องกินยาจากใบสั่งของแพทย์เท่านั้น หรือเลือกซื้อยาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมีเลขทะเบียนที่ถูกต้องกำกับบนฉลากของยา ส่วนยาชุดและยาสมุนไพรที่ไม่ได้รับรองมาตรฐาน ส่วนใหญ่มีสารสเตียรอยด์ เมื่อกินไประยะแรกมักจะมีอาการดีขึ้น แต่กลับส่งผลร้ายในระยะยาว ทั้งกระดูกพรุน ความโลหิตสูง และเกิดผลเสียต่อไต
สำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุประสบปัญหาไอมีเสมหะ ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) ยาละลายเสมหะประเภทเม็ดฟู่ 1 เม็ด มี acetylcysteine 600 mg มาพร้อมสรรพคุณละลายเสมหะ แก้ไอ และแก้พิษพาราเซตามอล ทำให้เสมหะที่เหนียวข้นเหลวลงและถูกขับออกได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอที่มีเสมหะ ในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่องคออักเสบ หอบหืด ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ความที่เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดีเป็นยากลุ่มยาเอ็นอะเซทิลซิสเทอีน จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยและแทบไม่มีผลข้างเคียง ด้วยรูปแบบเม็ดฟู่จึงหมดปัญหากลืนยายาก ยาติดคอ สำลักยา
การกินยาเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อผู้สูงวัยกินยาได้ถูกต้อง ก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีอายุยืนยาวอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลานไปได้นาน ๆ