รู้ยัง? ยาละลายเสมหะ กับ ยาขับเสมหะ ไม่เหมือนกันนะ!
เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น แถมด้วยมลพิษ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 ที่ระบาดในช่วงนี้ ล้วนทำให้ป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะอาการเจ็บคอ ระคายคอ มีเสมหะ วิธีที่ง่ายและได้ผลในการกำจัดเสมหะ คือ การใช้ยา ว่าแต่ ยาละลายเสมหะ กับ ยาขับเสมหะ ต่างกันหรือไม่? และควรเลือกใช้อย่างไร?
ยาขับเสมหะ (Expectorants)
ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจให้ขับสารเหลวหรือสารคัดหลั่งออกมามากขึ้น พร้อมกับทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง เพื่อให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายและหายใจสะดวกยิ่งขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือเพิ่มน้ำให้กับเสมหะนั้นเอง ดังนั้น ในระยะแรก ๆ ที่ใช้ยาขับเสมหะ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่ามีเสมหะเยอะ ไอมากขึ้นได้ จนกระทั่งร่างกายขับเสมหะออกมาจนหมด อาการไอก็จะบรรเทาลง และรู้สึกโล่งขึ้นกว่าเดิม ยาขับเสมหะมักนำมาใช้รักษาการมีเสมหะคั่งเนื่องจากโรคหวัด โรคภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ และภาวะติดเชื้อ ฯลฯ
ยาขับเสมหะที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) หรือกลีเซอริล ไกวอะคอเลต (Glyceryl Guaiacolate), เทอร์พีนไฮเดรต (Terpin hydrate), แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride) รวมทั้งสมุนไพรไทยอย่างมะขามป้อม หรือมะแว้ง เนื่องจากยาขับเสมหะแต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลการใช้ยาจากฉลากอย่างละเอียดถี่ถ้วน และใช้ยาอย่างถูกวิธี
ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อเสมหะ โดยทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง โดยไปทำลายโครงสร้างของเสมหะให้ลดความหนืดลง ช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ เพื่อให้ร่างกายกำจัดหรือขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มปริมาณของเสมหะเหมือนยาในกลุ่มขับเสมหะ จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะ ยาละลายเสมหะมักนำมาใช้รักษาอาการไอทั้งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง รวมถึงใช้รักษาตามอาการในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีเสมหะ โดยทั่วไปยานี้มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้น้อยมาก
ยาละลายเสมหะที่นิยมใช้ ได้แก่ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อ คือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine, NAC), คาร์บอกซีเมทิลซิสเทอีน (Carboxymethylcysteine), บรอมเฮกซีน (Bromhexine), แอมบรอกซอล (Ambroxol) เป็นต้น มีทั้งแบบเม็ด ยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ ยาละลายเสมหะแบบชงกับน้ำ เป็นต้น
ใครที่กำลังมองหายาละลายเสมหะไว้ใช้ในช่วงที่โควิดอยู่รอบตัวเรา ขอแนะนำ เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) เม็ดฟู่ละลายเสมหะ มีตัวยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม ช่วยลดความเหนียวและข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ช่วยแก้พิษพาราเซตามอล ช่วยลดการอักเสบในปอด ช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธีรับประทานให้ละลายยาในน้ำสะอาดครึ่งถึงหนึ่งแก้ว รอให้เม็ดยาละลายดี ฟองฟู่หมดแล้วจึงค่อยรับประทาน วันละ 1 ครั้ง
ถ้ายังสับสนไม่รู้จะเลือกใช้ยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกร หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีเสมหะและรักษาอย่างถูกจุด