3 ยาที่ต้องมีติดบ้านเพื่อรับมือ “ไข้หวัดแดด”
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับฤดูหนาว ในที่สุดก็เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว เรียกว่าเป็นสภาพอากาศที่ชาวไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี นอกจากจะต้องระวังแดดทำร้ายผิวแล้ว อาการขาดน้ำ หน้ามืด แดดร้อนจัด ยังทำให้คุณเป็น “ไข้หวัดแดด” ได้อีกด้วย เตรียมพร้อมไว้ก่อนด้วย 3 ยาที่ต้องมีติดบ้านเพื่อรับมือ “ไข้หวัดแดด”
ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ และความร้อนจัด หรือเจอกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงกระทันหันพร้อม ๆ กัน ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนสะสมความร้อนไว้ในร่างกายมากเกินไป อาการของโรค ได้แก่ มีไข้ต่ำ ๆ ตัวร้อน ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ ปากขม เบื่ออาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง นอนไม่ค่อยหลับ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดแดด นี่คือ 3 ยาที่ต้องมีติดบ้านไว้
1. ยาลดไข้
ไข้หวัดแดด เกิดจากร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายออกไม่ทัน ผู้ป่วยจึงมักจะมีไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว แนะนำให้ใช้ยาลดไข้ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล โดยพาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) จัดว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถทานเพื่อรักษาอาการปวด ลดไข้ ได้อย่างปลอดภัยมากที่สุดตัวหนึ่ง มีผลข้างเคียงน้อย ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ส่วนแอสไพริน เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ที่เห็นผลเช่นเดียวกัน ทั้งยัง สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลาย ๆ โรคได้ อย่างไรก็ตาม แอสไพริน ยาตระกูล NSAIDs จึงมีข้อควรระวังในการใช้ที่ควรทราบด้วย
2. ยาแก้แพ้
อีกกลุ่มอาการที่มักพบในผู้ป่วยไข้หวัดแดด คือ คัดจมูก ไอ จาม มีน้ำมูกใส ๆ ดังนั้น ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ใช้ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน เช่น คลอร์เฟนิรามีน ซึ่งโดยทั่วไปปรากฏอยู่ใน 2 รูปแบบคือ 1. ชนิดเม็ด เหมาะสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ 2. ชนิดน้ำเชื่อม เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบ ควรทานยาตามแพทย์สั่ง หรือปรึกษาร้านยาที่มีเภสัชกร เนื่องจากปริมาณการทานยาแก้แพ้ ขึ้นกับตัวยา ซึ่งปริมาณของยาแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ ยาแก้แพ้มักทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากทานยาแก้แพ้ แล้วมีอาการไอมากขึ้น ควรหยุดทานยาทันที
3. ยาละลายเสมหะ
ถ้าไอมีเสลดเหนียว ให้งดยาแก้แพ้ และยาแก้ไอ ควรให้ทานยาละลายเสมหะ เช่น เฟลมเม็กซ์-เอซี โอดี (Flemex-AC OD) เม็ดฟู่ละลายเสมหะ มีตัวยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม ช่วยลดความเหนียวและข้นของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ช่วยแก้พิษพาราเซตามอล ช่วยลดการอักเสบในปอด ช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธีรับประทานให้ละลายยาในน้ำสะอาดครึ่งถึงหนึ่งแก้ว รอให้เม็ดยาละลายดี ฟองฟู่หมดแล้วจึงค่อยรับประทาน วันละ 1 ครั้ง
นอกจากยาทั้ง 3 ประเภทที่ช่วยรักษาาการเจ็บป่วยต่าง ๆ อันเนื่องมาจากไข้หวัดแดดได้เป็นอย่างดีแล้ว อีกสิ่งที่ควรมีติดบ้านไว้ คือ น้ำดื่ม ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ปากคอแห้ง แสบคอ จากหวัดแดดได้ การจิบน้ำอุ่น ๆ หรือน้ำในอุณหภูมิห้องบ่อย ๆ จะได้ช่วยระบายความร้อน และขับของเสียออกจากร่างกาย ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้อีกด้วย
เตรียมยาและน้ำดื่มแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงหรือปกป้องร่างกายจากแสงแดด